เทคนิคการคิดเลขเร็วนั้นมีมากมายหลายวิธี ที่นำเสนอไปครั้งก่อนก็เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น วันนี้จึงมีเทคนิคคิดคำนวณเกี่ยวกับการหารมาฝากกันบ้าง เพราะการหารให้รวดเร็วนั้นก็เป็นเรื่องยากพอสมควร ลองนำไปฝึกกันดูนะครับ
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เทคนิคคิดเลขเร็ว 1
ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ใครเก่งคำนวณหรือคิดเลขไว ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะเราใช้การคิดเลขแทบจะตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนกระทั่งเข้านอนอีกทีตนกลางคืน ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ควรที่จะฝึกฝนการคำนวณเอาไว้บ้าง
เทคนิคคิดคำนวณที่จะนำเสนอในวันนี้ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ ก็คงมีส่วนช่วยให้การคำนวณง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยร้องหาแต่เครื่องคำนวณเพียงอย่างเดียว
ลองนำไปฝึกกันดูนะครับ
เทคนิคคิดคำนวณที่จะนำเสนอในวันนี้ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ ก็คงมีส่วนช่วยให้การคำนวณง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยร้องหาแต่เครื่องคำนวณเพียงอย่างเดียว
ลองนำไปฝึกกันดูนะครับ
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ครูในศตวรรษที่ 21
"ความเป็นครูในศตวรรษที่ 21"
ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยีที่ เต็มไปด้วย IT ครูจะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือของครู ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนานวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น และยังถือได้ว่า ครูเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21
ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C 3R คือ
- Reading (อ่านออก),
- (W) Riting (เขียนได้), และ
- (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่
- Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
- Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
- Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
- Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทางานเป็นทีม และภาวะผู้นา)
- Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
- Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ กระบวนการเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้เรียนจะเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยมีความก้าว หน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจานวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียนจนทาให้วิธี การสอนแบบเดิมๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสาหรับ ผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงเบนจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาด ใหญ่ ผู้เรียนมีการนาเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในชั้นเรียน ผู้เรียนถามคาถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกาลังสอน หรือนาข้อมูลเหล่านั้นมาพูดคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ หรือไม่เคยรู้มาก่อน
ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก
http://www.kruinter.com/file/34320140819073316-%5Bkruinter.com%5D.pdf
คณิตศิลป์
คณิตศิลป์ คืออะไร ?
คณิตศิลป์ คือ การผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ 2 แขนง นั่นก็คือ คณิตศาสตร์ และ ศิลปะ นั่นเอง งานคณิตศิลป์เป็นการเอาเส้นตรงมาทำให้เกิดเป็นรูปร่างและรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา พูดง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างรูปภาพต่างๆ ขึ้นมาจากรูปทรงทางเรขาคณิต แทนที่จะใช้ การขีดเส้นก็เปลี่ยนมาเป็นการปักเส้นด้ายเป็นเส้นตรงไปตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ ปักซ้อนทับ ผสมผสานกันระหว่างรูปทรงต่างๆ จนขึ้นเป็นภาพ
ซึ่งนักเรียนก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด คู่อันดับ ฯลฯ สอดแทรกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อย่างน้อยก็ทำให้เด็กไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์ มองเห็นความสวยงามในวิชาคณิตศาสตร์ เรียนหนังสือได้อย่างมีความสุข
คณิตศิลป์ นอกจากจะเป็นงานอดิเรก เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเรียนคณิตศาสตร์แล้ว ยังสามารถนำมาสร้างเป็นอาชีพเสริมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและตนเองได้อีกด้วย ซึ่งกว่าจะทำให้งานศิลป์ที่เราสร้างก่อเกิดเป็นรายได้ขึ้นมานั้น ก็ต้องผ่านการบ่มเพาะความรู้ความสามารถ ทำบ่อยๆ ให้เกิดประสบการณ์และความชำนาญ จนสามารถสร้างให้มีความสวยงามจนก่อให้เป็นรายรับได้ในที่สุด
ตัวอย่างงานคณิตศิลป์สวยๆ
ที่มา : http://www.dek-d.com/teentrends/34840/
http://www.thaihealth.or.th/Content/27633-'คณิตศาสตร์'ผสาน'ศิลปะ'สร้างสรรค์ลายปัก.html
คณิตศิลป์ คือ การผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ 2 แขนง นั่นก็คือ คณิตศาสตร์ และ ศิลปะ นั่นเอง งานคณิตศิลป์เป็นการเอาเส้นตรงมาทำให้เกิดเป็นรูปร่างและรูปทรงต่างๆ ขึ้นมา พูดง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างรูปภาพต่างๆ ขึ้นมาจากรูปทรงทางเรขาคณิต แทนที่จะใช้ การขีดเส้นก็เปลี่ยนมาเป็นการปักเส้นด้ายเป็นเส้นตรงไปตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้ ปักซ้อนทับ ผสมผสานกันระหว่างรูปทรงต่างๆ จนขึ้นเป็นภาพ
ซึ่งนักเรียนก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิต การวัด คู่อันดับ ฯลฯ สอดแทรกเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อย่างน้อยก็ทำให้เด็กไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์ มองเห็นความสวยงามในวิชาคณิตศาสตร์ เรียนหนังสือได้อย่างมีความสุข
คณิตศิลป์ นอกจากจะเป็นงานอดิเรก เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเรียนคณิตศาสตร์แล้ว ยังสามารถนำมาสร้างเป็นอาชีพเสริมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและตนเองได้อีกด้วย ซึ่งกว่าจะทำให้งานศิลป์ที่เราสร้างก่อเกิดเป็นรายได้ขึ้นมานั้น ก็ต้องผ่านการบ่มเพาะความรู้ความสามารถ ทำบ่อยๆ ให้เกิดประสบการณ์และความชำนาญ จนสามารถสร้างให้มีความสวยงามจนก่อให้เป็นรายรับได้ในที่สุด
ตัวอย่างงานคณิตศิลป์สวยๆ
ที่มา : http://www.dek-d.com/teentrends/34840/
http://www.thaihealth.or.th/Content/27633-'คณิตศาสตร์'ผสาน'ศิลปะ'สร้างสรรค์ลายปัก.html
พิธีบูชาครู
ครูคือใคร ใครคือครู
เครื่องสักการะที่ใช้ในพิธีไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครูนั้น ศิษย์แต่ละคนจะต้องตระเตรียมเครื่องสักการะกันเอง โดยตั้งแต่สมัยโบราณมา การไหว้ครูไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากมายนัก เครื่องสักการะที่ใช้ก็เป็นสิ่งของที่หาได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่กลับแฝงไว้ด้วยความหมายอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเครื่องสักการะนั้นนอกจากธูปและเทียนแล้ว ก็ยังมีข้าวตอก ดอกเข็ม หญ้าแพรก และดอกมะเขือ
ความหมายของดอกไม้ที่นำมาไหว้ครู
ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก
หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง
ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม
จากใจของครู ในวันไหว้ครู
ในการจัดพานไหว้ครูก็ดี หรือดอกไม้ไหว้ครูก็ดี ในปัจจุบันนี้นักเรียนส่วนใหญ่ต่างสรรหาดอกไม้สวยงามที่มีขายตามตลาด โดยมองข้ามดอกไม้ความหมายดีที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล พานไหว้ครูก็มิใช่ฝีมือนักเรียนเอง แต่กลับไปจ้างให้ผู้อื่นทำให้
นักเรียนจะทราบหรือไม่ว่า สำหรับครูแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพานไหว้ครู หรือเครื่องสักการะต่าง ครูมิได้ต้องการเพียงแค่ความสวยงามภายนอก สิ่งที่ครูปรารถนา คือ ความตั้งใจอันดีที่ศิษย์ร่วมมือร่วมใจกันจัดทำขึ้นเพื่อน้อมบูชาครูจากใจจริงเท่านั้นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
K@pook
ครู มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์ ซึ่งคำว่าครูนั้น มาจากคำว่า ครุ ที่แปลว่า หนัก อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสอยู่มิใช่น้อย เพราะการที่คนๆ หนึ่ง กว่าจะเติบโต มีความรู้ความสามารถ จนสามารถดูแลตนเองและครอบครัว เป็นคนดีของสังคมได้นั้น ผู้เป็น ครู จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้เป็นบิดามารดาเลย
ด้วยเหตุนี้ ครู จึงเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การแสดงความกตัญญูกตเวทีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พิธีบูชาครู หรือ พิธีไหว้ครู นั้น จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต
การไหว้ครู ก็คือการที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้
ในพิธีไหว้ครูนั้น ศิษย์แต่ละคนจะต้องตระเตรียมเครื่องสักการะกันเอง โดยตั้งแต่สมัยโบราณมา การไหว้ครูไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากมายนัก เครื่องสักการะที่ใช้ก็เป็นสิ่งของที่หาได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่กลับแฝงไว้ด้วยความหมายอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเครื่องสักการะนั้นนอกจากธูปและเทียนแล้ว ก็ยังมีข้าวตอก ดอกเข็ม หญ้าแพรก และดอกมะเขือ
ความหมายของดอกไม้ที่นำมาไหว้ครู
ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก
หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง
ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม
จากใจของครู ในวันไหว้ครู
ในการจัดพานไหว้ครูก็ดี หรือดอกไม้ไหว้ครูก็ดี ในปัจจุบันนี้นักเรียนส่วนใหญ่ต่างสรรหาดอกไม้สวยงามที่มีขายตามตลาด โดยมองข้ามดอกไม้ความหมายดีที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล พานไหว้ครูก็มิใช่ฝีมือนักเรียนเอง แต่กลับไปจ้างให้ผู้อื่นทำให้
นักเรียนจะทราบหรือไม่ว่า สำหรับครูแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพานไหว้ครู หรือเครื่องสักการะต่าง ครูมิได้ต้องการเพียงแค่ความสวยงามภายนอก สิ่งที่ครูปรารถนา คือ ความตั้งใจอันดีที่ศิษย์ร่วมมือร่วมใจกันจัดทำขึ้นเพื่อน้อมบูชาครูจากใจจริงเท่านั้นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
K@pook
เพลงพระคุณที่สาม
ใกล้ถึงวันไหว้ครูแล้ว ทำให้นึกถึงเพลงนี้ขึ้นมาได้ เพลงที่มีความหมายถึงครู ไม่เพียงแต่เพลงนี้เท่านั้น ยังมีอีกมากมายหลายเพลงที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับครู แม้วันนี้เราจะเป็นครู แต่เมื่อได้ฟังแล้วก็อดหวนคิดไปถึงสมัยที่ยังเป็นนักเรียนเสียมิได้
เพลงพระคุณที่สาม
ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้
อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี
ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที
ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น
ครูมีบุญคุณจึงขอเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า
ท่านสั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น
ท่านอุทิศไม่คิดถึงความยากเย็น
สอนจนรู้จัดเจนเฝ้าเน้นเฝ้าแนะมิได้อำพราง
พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส
แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง
พลาดจากความจริงยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง
มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู
บุญเคยทำมาแต่ปางใดๆเรายกให้ท่าน
ตั้งใจกราบกรานระลึกคุณท่านกตัญญู
โรคและภัยอย่าได้แผ้วพานคุณครู
ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร
(ให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร)
ขับร้องโดย นักร้องประสานเสียงจาก ธรรมศาสตร์คอรัส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)